วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Tiahunaco


VI. เทียฮัวนาโค (Tiahunaco) เทียฮัวนาโคแห่งอเมริกาใต้ ดินแดนของชนเผ่าลึกลับที่ไม่ทราบที่มาหลายคนว่ากันว่า ชาวพื้นเมืองของเทียฮัวนาโคสืบเชื้อสายมาจากอาณาจักรมูครับ บ้างก็ว่าน่าจะเป็นแอตแลนติสเพราะดูจากสภาพภูมิศาสตร์แล้วมันเอื้อกว่า ใครจะถูกจะผิดเรายังไม่รู้ แต่หลักฐานที่เหลืออยู่อันประกอบด้วยโบราณสถานที่สร้างจากหินขนาดมหึมา รวมทั้งสถาปัตยกรรมการสร้างกำแพงจากหินหลายเหลี่ยม ซึ่งออกแบบไว้สำหรับป้องกันแผ่นดินไหวนั้น บอกกับเราว่า ชาวเทียฮัวนาโคมีความรู้เรื่องธรณีวิทยาและแนวแผ่นดินไหวใน Ring of Fire เป็นอย่างดี หรือความรู้เหล่านี้ได้รับมาจากบรรพชนชาวมูที่ล่วงลับไปแล้วครับ? สิ่งที่โดดเด่นที่สุดของเทียฮัวนาโคก็คือสถาปัตยกรรมครับ ทุกอย่างดูมโหฬารอลังการไปหมด ลำพังแค่ขนาดก็น่าทึ่งพออยู่แล้ว พอนักโบราณคดีศึกษาลึกลงไปอีก ก็ยิ่งทึ่งหนักเข้าไปใหญ่กับเทคนิคการก่อสร้างของพวกเขา การตัดหินขนาดใหญ่ เทคนิคการใช้คอนกรีตแบบโบราณเอย ปูนพลาสเตอร์แบบผสมเอย และเขียนแปลนที่ยอดเยี่ยมอดทำให้นักโบราณคดีงุนงงไม่ได้ว่า นี่เป็นผลงานของคนเมื่อหลายพันปีที่แล้วแน่หรือ? พูดถึงเรื่องนี้ก็อดงงไม่ได้นะครับ ว่าทำไมคนโบราณชอบสร้างอะไรที่มันใหญ่โตเกินจำเป็นนัก แล้วไอ้สิ่งที่สร้างขึ้นน่ะมันก็ขัดกับเทคโนโลยีและความเป็นอยู่ของพวกเขาเสียเหลือเกิน แหละดูเหมือนว่าคนโบราณจะเป็นยังงี้กันไปซะหมด เพราะนอกจากเทียฮัวนาโคแล้ว สิ่งก่อสร้างในอียิปต์ เกาะมัลต้า หรือส่วนอื่นๆในเปรู ก็ล้วนแต่โอ่อ่าอลังการไปเหมือนๆกันหมดซะอย่างนั้น
นอกจากตัวเทียฮัวนาโคเองแล้ว โบราณสถานอีกหลายแห่งในประเทศโบลิเวียล้วนแต่ชี้ให้เห็นว่าได้รับอิทธิพลจากเทียฮัวนาโค เช่นโบราณสถานทางตอนใต้ของคุซโกที่เป็นที่ตั้งของเมืองแห่งพระเจ้าโบราณ Puma Punku ซึ่งสวยงามและโอ่อ่าเอามากๆ ทุกสิ่งทุกอย่างมีขนาดใหญ่โตเสียจนอดคิดไม่ได้ว่าคนงานที่สร้างเมืองแห่งนี้น่าจะเป็นยักษ์เสียกระมัง เพราะหินแต่ละก้อน เสาแต่ละต้นมันใหญ่โตเสียจนเหลือเชื่อว่าลำพังแรงงานมนุษย์จะจัดการกับมันได้ เสาบางต้นมีขนาดร้อยกว่าตัน บางต้นมากกว่านั้น แถมแปลนของวิหารที่นั่นก็ดูทันสมัยต่างไปจากวิหารของคนโบราณเสียด้วยนะครับ ลองทัศนารูปกำแพงและซากที่เหลือของ Puma Punku จากภาพด้านล่างดูสิ แล้วเห็นด้วยกับผมหรือเปล่า?กำแพงอันใหญ่โตและราบเรียบ ไม่งงกันเหรอครับว่าคนโบราณเค้าเอาอะไรตัด แล้วเอาอะไรยก

Uiger Civilization of Gobi Desert


V. อารยธรรม ณ ทะเลทรายโกบี (Uiger Civilization of Gobi Desert)เรายังไม่ได้ไปจากช่วงเวลาของแอตแลนติสและ Rama Empire นะครับ แต่ย้ายโลเกชั่นไปแถวทะเลทรายโกบี ที่ซึ่งมีทั้งเมืองโบราณและท่าเรือขนาดใหญ่ซุกอยู่ใต้ผืนทรายอันไพศาล นักโบราณคดีหลายกลุ่มได้พบเครื่องยนตร์โบราณอายุหลายพันปีในถ้ำบริเวณทะเลทรายโกบี เชื่อกันว่าเครื่องยนตร์เหล่านี้คือซากของยานบินวิมานะในตำนานโบราณของชาวภารตะ นิโคลาส โรเอริช นักสำรวจชาวรัสเซียเคยรายงานถึงการพบเห็นยานบินรูปร่างคล้ายแผ่น CD ในน่านฟ้าทางตอนเหนือของประเทศธิเบตเมื่อทศวรรษที่ 40 บางทีอาจเป็นไปได้ว่า ทายาทของอาณาจักรนี้ยังคงหลงเหลือแต่ซ่อนกายอยู่ที่ไหนสักแห่งใน Uiger area อันไพศาลทางตอนเหนือของทะเลทรายโกบีนี้ก็ได้นะครับแถวธิเบตยังมีนครในตำนานเช่น ศัมภาลา(Chamberla หรือที่การ์ตูนญี่ปุ่นชอบอ่านว่า จัมบารา) รวมทั้งตัวของมหาปราชญ์แห่งจีนผู้รจนาคัมภีร์ เต๋าเต็กเก็ง อย่างท่านเล่าจื้อ ก็เคยกล่าวถึงอาณาจักรลึกลับที่เต็มไปด้วยผู้ทรงความรู้ เป็นดินแดนในตำนานที่เล่าขานกันว่าอยู่ทางตะวันตกของจีน โดยดินแดนนี้เรียกกันว่าดินแดนของ ชิหวังมู่ ครับ ว่ากันว่าในการท่องเที่ยวอันยาวนานของท่านเล่าจื้อนั้น มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ท่านได้ไปพำนักในดินแดนนี้ และในบั้นปลายของชีวิตท่านก้ได้เดินทางออกจากแผ่นดินจีน เพื่อใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายในดินแดนโบราณดังกล่าวด้วย

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Osirian civilization of the Mediterranean.


IV. อาณาจักรโอสิเรียน (Osirian civilization of the Mediterranean)ในยุคสมัยของแอตแลนติสและ Rama Empire มีอีกอาณาจักรนึงครับ ที่รุ่งเรืองมาในเวลาไล่เลี่ยกัน ท่ามกลางหุบเหวที่อุดมสมบูรณ์และพื้นที่ที่ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อาณาจักรโบราณนี้นับเวลาย้อนหลังไปได้ไกลกว่าราชวงศ์เก่าของอียิปต์เสียอีก นักประวัติศาสตร์เรียกขานชื่อของอาณาจักรลึกลับนี้ว่าโอสิเรียน หรือ Osirian civilization ค่ะปูพื้นกันนิดสำหรับความเป็นมาของอาณาจักรนี้ อารยธรรมโอสิเรียนจะเกิดขึ้นไม่ได้อย่างเด็ดขาด หากขาดแม่น้ำไนล์ไป แม่น้ำไนล์(ซึ่งในบางครั้งเรียกแม่น้ำ Styx)นั้นมีต้นกำเนิดจากทวีปอาฟริกา มีส่วนที่ไหลลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ทางตอนเหนือของอียิปต์ กระแสน้ำได้พัดดินตะกอนทับถม (รวมทั้งกร่อนส่วนที่กร่อนได้) จนเกิดเป็นหุบและทะเลสาบขนาดใหญ่ขึ้น ตรงบริเวณพื้นที่ระหว่างมัลต้าและซิซิลีในปัจจุบัน ครอบไปถึงซาร์ดิเนียในมหาสมุทรแอตแลนติคตรงบริเวณที่เรียกว่าเสาหินของเฮอร์คิวลิส (ช่องแคบยิบรอลตานั่นล่ะค่ะ ^.^ ) หลังจากที่แอตแลนติสจมลงสู่ก้นมหาสมุทร กระแสน้ำที่เปลี่ยนทิศจากมหาสมุทรแอตแลนติค ก็ได้ทำให้ดินแดนบริเวณอ่าวเมดิเตอร์เรเนียนจมลงอย่างช้าๆ กวาดเอาซากแห่งความรุ่งเรืองของอาณาจักรโอสิเรียนลงไปเฝ้าเทพโปเซดอนที่ก้นมหาสมุทรด้วย ในวงการโบราณคดีแล้ว เป็นที่ทราบกันดีว่ามีซากเมืองจำนวนมาก(อย่างน้อยๆก็ 200 เมือง)ที่จมอยู่ใต้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อารยธรรมของอียิปต์เก่า, มิโนอันกับไมซีเนียนแห่งครีต รวมไปถึงเมืองน้อยใหญ่ของชาวกรีกก็รวมอยู่ในจำนวนนั้นด้วย มาถึงตรงนี้บางท่านก็อาจจะงงว่าทำไมตูข้าไม่เคยได้ยินชื่อของอาณาจักรหรืออารยธรรมที่ว่านี้มาก่อน อันนี้มีสาเหตุครับ เรื่องของเรื่องมันอยู่ที่นักคิดนักเขียนเป็นจำนวนมาก ได้เหมารวมเอาอารยธรรมโอสิเรียนให้เป็นหนึ่งในอารยธรรมของแอตแลนติส ทั้งที่ความจริงมันไม่ใช่ หลักฐานที่หลงเหลือของอาณาจักรโอสิเรียนคือสิ่งก่อสร้างขนาดมหึมา ที่มีขนาดไม่แพ้มหาวิหารในบาลเบ็คของเลบานอน เสาที่หลงเหลือจากแผ่นดินไหว แนวกำแพงยาวเหยียดใต้ก้นมหาสมุทร รวมไปถึงร่อยรอยของสิ่งก่อสร้างลึกลับในเกาะมัลต้าด้วยครับ

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Rama Empire of India.


III. อาณาจักรโบราณแห่งชมพูทวีป (Rama Empire of India)นับว่าฟ้ายังเข้าข้างอยู่ไม่น้อย ที่ตำรับตำราโบราณของทางอินเดียไม่ได้ถูกม้วนหายไปกับวังวนทางประวัติศาสตร์ มากนัก หลายๆชาติต้องพบกับความเจ็บปวดใจ ที่บันทึกโบร่ำโบราณถูกทำลายไปเสียหมดสิ้น ถ้าไม่เพราะภัยพิบัติก็ฝีมือมนุษย์ด้วยกันนี่แหละครับ การเผาตำรา-ฆ่านักปราชญ์ของฉินสื่อหวง(จิ๋นซีฮ่องเต้) การเผาคัมภีร์สำคัญของอียิปต์ตามคำสั่งของผู้นำอิสลาม หนังสือโบรารของมายา อินคา หรือแม้แต่ชาวเกาะอีสเตอร์ก็ถูกชาวตะวันตกเผาทำลายสิ้น เคราะห์ดีที่ทางอินเดียยังมีสิ่งเหล่านี้เหลืออยู่อีกเยอะ อย่างน้อยก็เยอะมากพอที่จะให้คนรุ่นหลังอ้าปากค้างอย่างอัศจรรย์ใจ ในความเป็นมาและเป็นไปของอาณาจักรโบราณแห่งดินแดนภารตะนี้ได้แหละน่าบทเรียนในวิชาประวัติศาสตร์สอนเราว่า อารยธรรมอินเดียเริ่มขึ้นประมาณห้าพันปีที่ผ่านมา แท้ที่จริงอารยธรรมแห่งนี้ยาวนานย้อนหลังไปกว่าที่เรารู้จักมากนักครับ ก่อนหน้านี้ วงการประวัติศาสตร์รู้จักอินเดียโบราณในแง่ของอาณาจักรใหญ่ ที่เคยรบพุ่งกันอย่างเอาเป็นเอาตาย กับกองทัพของอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซีโดเนีย มีอารยธรรมที่รุ่งเรืองอย่างน่าทึ่ง ครั้นพอมีการตั้งไซต์ทางโบราณขึ้นที่หุบแห่งความตาย เฮนโจ ดาโร นักประวัติศาสตร์จึงเริ่มเอะใจเกี่ยวกับอาณาจักรโบราณแถบลุ่มน้ำสินธุแห่ง นี้ เพราะหลักฐานทั้งหลายแหล่ที่พบล้วนบ่งบอกว่า ดินแดนแห่งนี้มีความเป็นมาและเป็นไปที่ไม่ธรรมดาเอาเสียจริงๆที่ว่าไม่ธรรมดาคือ การสร้างเมืองโมเฮนโจ ดาโร กับ ฮารัปปา (Harappa) นั้นดูเหลือกำลังของคนโบราณจะทำได้ เมืองทั้งเมืองถูกวางผังเอาไว้อย่างดีก่อนสร้าง ด้วยแปลนที่เหมือนกับวิศกรหย่ายสมัยศตวรรษที่ 20 เป็นคนเขียน แถมด้วยระบบระบายน้ำที่อัศจรรย์เหลือเชื่อ มัน advance ถึงขั้นที่ว่าทันสมัยและดีเยี่ยมกว่าเมืองหลวงของหลายชาติในเอเชียปัจจุบัน เสียด้วยซ้ำ

The Ancient Atlantis.


II. แอตแลนติสโบราณ (The Ancient Atlantis)ว่ากันว่าไม่นานนักหลังจากที่ทวีปมูจมลง ความเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาได้ทำให้แผ่นดินแห่งนึงผุดขึ้นบริเวณคาบสมุทรแป ซิฟิค อารยธรรมที่รุ่งเรืองของมูได้หายไปกับภัยพิบัติครั้งนั้น แต่ไม่ได้รวมถึงอาณาจักรอีกแห่งที่เจริญรุ่งเรืองขึ้นในช่วงปลายยุคของมูดินแดนที่ว่าเป็นเสมือนอาณาจักรในม่านหมอกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติครับ เพราะจนถึงปัจจุบันนี้ ก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่ามันตั้งอยู่บนดินแดนไหนของโลก อย่าว่าแต่ที่ตั้งเล๊ย... อาณาจักรนี้จะมีตัวตนอยู่จริงหรือเป็นเพียงตำนานก็ยังหาคนมายืนยันไม่ได้ ด้วยซ้ำ ถึงกระนั้น คนส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อค่ะ ว่าครั้งหนึ่งโลกของเรา เคยมีอาณาจักรที่สูงส่งด้วยวิทยาการแต่ประสบความพินาศเพราะภัยสงครามนามว่า แอตแลนติสอยู่จริงๆ เชื่อกันว่าอาณาจักรแอตแลนติสมีความก้าวหน้าทางวิทยาการเอามากๆ ก้าวหน้าชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อนนับแต่โบราณกาลจวบจนปัจจุบัน โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการทำลายล้างเป็นเทคโนโลยีที่เป็นตัวแทนของแอตแลนติสเลยทีเดียวค่ะ เหตุผลที่อาณาจักรโบรารแห่งนี้เน้นเทคโนโลยีด้านสงครามก็อาจเป็นเพราะ ต้องปกครองอาณานิคมที่กระจัดกระจายอยู่รอบโลก แถมยังต้องทำสงครามกับทวีปอื่นๆที่รุ่งเรืองมาในยุคไล่ๆกัน ตำราบางเล่มกล่าวถึงการรบกันระหว่างแอตแลนติสกับอาณาจักรทางฝั่งอินเดีย โบราณไว้อย่างน่าดูชม ดูเหมือนภาษาสันสกฤตโบราณจะขนานนามของชาวแอตแลนติสว่า อัศวินหรือนักรบ ก็ตรงตัวดีอยู่แหละหลายตำนานกล่าวตรงกันว่า แอตแลนติสมาถึงจุดหายนะเพราะภัยสงคราม เนื่องจากการใช้อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงอย่างไม่ยั้งคิดนั่นเอง จุดจบของแอตแลนติสน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับมนุษย์เราในปัจจุบันได้ไม่ มากก็น้อย ตราบที่เรายังไม่ยุติการแก้ปัญหาด้วยกำลัง หรือกระหายสงครามอย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้

Ancient Mu or Lemuria


I. มู ทวีปแห่งมารดร (Ancient Mu or Lemuria)ก็เห็นพ้องต้องกันในวงการลึกลับศาสตร์แหละค่ะว่า อาณาจักรที่เก่าแก่ยืนนานที่สุดในโลกที่เป็นอารยธรรมของ"มนุษย์โลก"จริงๆนั้น คือ มู:ทวีปแห่งมารดร ระยะเวลาของอาณาจักรนี้ว่ากันว่าย้อนหลังไปถึง 78,000 ปีที่แล้ว บนทวีปขนาดใหญ่ที่มีชื่อตามภาษาโบราณว่า มู หรือที่คนสมัยใหม่เรียกเลมูเรียตามชื่อของลิงชนิดหนึ่ง และเจริญรุ่งเรืองอย่างยาวนานมาอย่างน้อยก็ถึง 52,000 ปีที่ผ่านมา แต่ก็มีบางแหล่งเหมือนกันค่ะที่ระบุว่า มูไม่ได้มีอายุยืนยาวถึงขนาดนั้น แต่ก่อตัวเมื่อประมาณ 26,000 ปีก่อนและพังพินาศลงด้วยภัยพิบัติ Pole shift หรือขั้วโลกพลิกเมื่อ 24,000 ปีที่ผ่านมาแล้ว สาเหตุประการหลังนี่แฟนๆเรื่อง MMR คงคุ้นๆกันอยู่อย่างไรก็ตาม มูมิได้สูงส่งด้วยวิทยาการไฮเทคดังอาณาจักรหลังๆที่รุ่งเรืองตามมา แต่อารยธรรมของมูเป็นอารยธรรมด้านจิตวิญญาณ สังคมของอาณาจักรนี้บูชาความรู้และศัรทธาโดยเฉพาะ ซึ่งต่างจากแอตแลนติสที่สัญลักษณ์ของอาณาจักรนี้คือเทคโนโลยีและนวัตกรรม